วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Sarut and Sasipin

holiday SLide show

in LOVE IS HEAR concert
date - 9 july
time - 19.00pm
place - SCALA

เมื่อคนหูดีฟังดนตรีพร้อมคนหูหนวกLove is Hearคอนเสิร์ตครั้งแรกที่คนหูดีฟังดนตรีพร้อมคนหูหนวกรายได้ทั้งหมด ไม่หักค่าใช้จ่าย มอบให้มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์

ดนตรีไม่ได้มีไว้เพื่อคนหูดีเท่านั้น... นี่คือคอนเสิร์ตเพื่อคนหูหนวก ศิลปินทุกท่านทั้งภาพและเสียงจะร่วมกันถ่ายทอดบทเพลงและเติมเต็ม จินตนาการผ่านประสาทสัมผัสทั้งหมด เพื่อให้ดนตรี “เข้าถึง” และ “เพราะที่สุด” ในชีวิตของคนหูหนวก และคนหูดีด้วยเช่นกันร่วมสัมผัสดนตรีผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า (ภาพ เสียง สัมผัส รส กลิ่น) พร้อมๆ กับน้องๆ ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเป็นครั้งแรก จากศิลปินทั้งภาพและเสียงที่มาแสดงด้วยหัวใจFriday, Stamp, Scrubb, ETC.Koh Mr. Saxman, Exotic

เป็นครั้งแรก ฟังเพลงพิเศษ “เสียงในความเงียบ” ที่พี่จิก ประภาส ชลศรานนท์ แต่งขึ้นเพื่อ Love is Hearพฤหัสที่ 9 กรกฎาคม 2552 โรงภาพยนตร์สกาลา เวลา 19.00 น.บัตรราคา 1,500 1,000 700 และพิเศษ 999 ซื้อได้แล้ววันนี้ที่ช่องขายตั๋วโรงภาพยนตร์สกาลาทุกที่นั่ง รับ CD เพลง “เสียงในความเงียบ” ไว้ไปฟังต่อที่บ้าน พร้อมของแถมอีกเพียบ
Hotline: 02 264 9633

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Yesterday, Today, and the day after


The next performance -

The world according to Farida and Damkerng
- and sometimes, Nophand

(ยังนึกชื่อภาษาไทยไม่ออก)

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

SIGNS and GESTURES














คุณจะใช้ท่าอย่างใดในกรณีต่างๆตามหัวข้อข้างล่าง
เวลาที่คุณต้องการความสนใจคุณจะทำท่าอะไร
1.แคะขี้เล็บ
2.เท้าเอวส่ายสะโพก
3.ยกมือขึ้นแล้วรอให้คนเห็น
คุณเข้างานสายมากแล้วเจ้านายดันเห็น คุณจะทำยังไง
1.เอามือล้วงกระเป๋าแล้วยิ้ม
2.เอามือไข้วหลังแล้วส่ายตัวไปมา
3.ก้มหน้าแล้วกุมเป้าตัวเอง
เวลาไปออกเดทครั้งแรก คุณควรจะชวนเขาหรือเธอคุยเรื่องอะไร
1.แฟนเก่าคุณ
2.แม่ของคุณ
3.แม่ของแฟนเก่าคุณ
เวลาไปดูหนังแล้วมีคนข้างๆคุยโทรศัพท์มือถือ
1.ทำเป็นไม่ได้ยิน
2.ส่งสายตาไม่พอใจให้เขาเห็น
3.ตำหนิการอบรมสั่งสอนที่พ่อแม่ของเขาไม่ได้ให้มา
ใช่แล้วครับ ทุกวันเราใช้การสื่อสาร เรามีหลายวิธี ทางภาษา ทางร่างกาย ทางเสียงต่างๆ
การแสดงที่พูดถึงการสังเกตุการณ์ของวิถีสื่อสารของคนเราที่ใช้กัน บางครั้งตั้งใจ บางครั้งก็ไม่ตั้งใจ...บ้านเรา สื่อสารกันมากหรือน้อยขนาดไหน แล้วการสื่อสารของบ้านเราเมื่อไปใช้ที่บ้านคนอื่นจะได้ความหมายอะไร
SIGNS and GESTURES may 2009 at Makham studio (photos by Mr Ohno)

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Hamlet by Damkerng Thitapiyasak






"เคยคิดเหมือนกันว่าเวลาไปดูการแสดงโซโล เราคาดหวังจะได้เห็นอะไรกันแน่ สมมติเป็นการแสดงโซโลของดนตรี ติ๊ต่างว่าเป็นโซนาตาของโชแปง ที่ดีดโดยนักเปียโนชื่อก้องอย่าง ชปีลมันน์ เราอยากเห็นโชแปงที่เล่นแบบที่เราเคยได้ยิน หรืออยากเห็นโชแปง ที่เล่นแบบชปีลมันน์ เช่นเดียวกัน เวลาที่ไปดูการแสดงโซโล นักแสดงหนึ่งเดียวคนนี้จึงเป็นหัวใจของทั้งหมด (แม้ว่าในกรณีนี้ ชื่อของผู้กำกับ และบทละครอันลือลั่นเรื่อง แฮมเล็ต จะมีส่วนในการตัดสินใจของคนที่ไปดูด้วยก็ตาม เพราะละครของเชคสเปียร์นั้น ดูกี่เวอร์ชั่น คนดูก็ไม่เคยพอ)

ชื่อของนพพันธ์ นั้นเป็นเหมือนคำเตือนอยู่แล้วว่าแฮมเล็ตเวอร์ชั่นนี้ต้อง “แนว” ต้องแรง ต้องเฮ้ว อะไรทำนองนั้น เพราะฉะนั้น ใครที่มาดูแฮมเล็ตเวอร์ชั่นนี้ และหวังว่าจะได้เห็น “แฮมเล็ต” ที่เคยเห็น แฮมเล็ตที่เต็มไปด้วยการตีความ แฮมเล็ตที่เต็มสมบูรณ์ ใส่ความเป็นเชคสเปียร์ มีฉากสำคัญครบถ้วนก็นับว่าน่าจะมาด้วยความเข้าใจผิด เพราะถ้าต้องการทำแฮมเล็ตอย่างนั้น ผู้กำกับคงเลือกทำแฮมเล็ตที่มีตัวละครครบเซ็ทตั้งแต่ทีแรก ตอนที่ตั้งใจไปดู เราจึงต้องบอกตัวเองว่า จงทำใจให้ว่างเข้าไว้ และโชคดีจริงที่ไม่ได้ดูแฮมเล็ตมาก่อนเลยซักกะเวอร์ชั่น (ทั้งเวอร์ชั่นป๋าเมล ลุงเคนเนธหรือเฮียอีธานเล่นนั่นแหละ) และถึงจะเคยอ่านบทตีความมาบ้าง แต่ก็ไม่ได้ทำให้ติดภาพ “แฮมเล็ต” คนไหนแต่อย่างใด เพราะฉะนั้น นพพันธ์จึงถือเป็นแฮมเล็ตคนแรกในชีวิตของคนเขียน และต้องขอบคุณที่เขาไม่ทำให้คนเขียนต้องเกลียดหรือสยดสยองกับแฮมเล็ต เมื่อตั้งโจทย์ในการไปดูการแสดงโซโลว่าจะไปดูความสามารถของนักแสดงที่ตีความงาน (ซึ่งคนอื่นเป็นพัน เป็นแสนเคยเล่นมาแล้ว) ให้เป็น “ตัวเอง” มากที่สุด ในการไปดูละครครั้งนี้จึงต้องการดูว่า นพพันธ์จะทำให้แฮมเล็ตกลายเป็น “ตัวเขา” ได้สักแค่ไหน และเชื่อว่าคนที่ไปดูจริงๆ ลึกๆแล้ว เมื่อไปดูแฮมเล็ตเวอร์ชั่นนพพันธ์ คนดูคงไม่ต้องการดูนพพันธ์ที่กลายเป็นแฮมเล็ต แต่ต้องการดูแฮมเล็ตที่กลายเป็นนพพันธ์ต่างหาก (งงเนอะ)

ความจริง เคยดูการแสดงของนพพันธ์แค่ครั้งเดียว และรู้สึกว่านี่เป็นนักแสดงอีกคนที่เล่น“น้อย” ต่างจากนักแสดงละครเวทีคนอื่นที่ต้องเล่นให้ “ใหญ่” เข้าไว้ ซึ่งก็ทำให้กลัว(แทน)เหมือนกันว่าเล่น “น้อย” อย่างนี้ จะเอาคนดูอยู่รื้อ แต่เอาเข้าจริง การเล่น “น้อย” แบบนี้กลับเหมาะที่สุดแฮะ เพราะ -

1)มันทำให้แฮมเล็ตคนนี้ดูเป็น The Fool อย่างที่ผู้กำกับบอกว่าตั้งใจจะให้เป็น เพราะคนที่สับสน คนที่ไม่รู้อะไรเลย คนที่ค้นหา คนที่พูดกับตัวเอง คนที่ไม่รู้จะเอายังไงกับชีวิต มันจะไม่บ้าอาละวาด แต่มันจะพูดกับตัวเองเงียบๆ และนั่งพึมพำ ด่าตัวเอง พูดจาไม่รู้เรื่องอย่างนี้แหละ (ก็บทมันยาว ใครเข้าใจทุกประโยคก็อนุโมทนา) ฉากแรกที่ออกมาก็ (ดูเหมือนจะ) พี้ยา เมาหัวราน้ำเลยนั้นเพิ่มปริศนานิดๆ ว่า ตกลง แฮมเล็ตเขาสับสนเพราะสับสนจริง หรือเพราะเมายากันแน่ (หว่า)

2) การเล่น “น้อย” ทำให้การสวมบทเป็นตัวละครอื่นดูไม่ “โดด” เกินไป อาจฟังดูขัดแย้ง เพราะคนต้องคาดหวังว่าผู้เล่นจะทำให้แต่ละตัวแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แต่นพพันธ์ก็สามารถทำได้ด้วยการเล่น “น้อย” แต่ละเอียดของเขา เขาใส่รายละเอียดในตัวละครแต่ละตัว ซึ่งขอบอกว่า ตัวที่เขาเล่นได้สนุกที่สุด (ในความเห็นของเรา) น่าจะเป็น โพลีเนียส เพราะเป็นตัวละครเดียวที่เขาเล่นได้เป็น “เชคสเปียร์”มากที่สุด ตอนแรกคาดหวังว่านพพันธ์ตอนเป็นโอฟีเลียน่าจะเห็นความแตกต่างชัดเจนที่สุด แต่เอาเข้าจริง กลับรู้สึกว่า เขาสามารถเล่นเป็น “แม่” ได้ชัดเจนที่สุดโซโลเรื่องนี้สนุกเมื่อถึงฉากที่คนเล่นคนเดียวต้องสลับเล่นเป็นหลายคนและโต้เถียงกัน ฉากเด่นๆ ก็มีฉากแฮมเล็ตกับโอฟีเลีย ที่โอฟีเลียต้องทำท่ากลัวลนลานนั่นแหละ (บอกแล้วว่าเป็นข้อดีของการเล่นน้อย เพราะถ้าเล่น “เยอะ” ฉากนี้มันจะตลก แทนที่จะตระหนกไป) และฉากที่เป็นไคลแมกซ์ (ของเรา) คือตอนที่จับแม่มาเป็นตัวประกันแฮะ จังหวะของนักแสดงแรง แม่นยำ ไว ทำให้ไม่น่าเชื่อว่าคนคนเดียวจะทำให้เกิดความน่าตื่นเต้นเหมือนมีการปะทะกันของตัวละครหลายๆตัวได้ขนาดนี้แฮมเล็ตในบท Soliloquy นั้น ซึ่งน่าจะเป็นกิมมิคในการแสดงโซโล นพพันธ์ใช้น้ำเสียงได้เย้ยหยันเหยียดเยาะ เหมือนเขากำลังเกลียดตัวเองและคนอื่นๆ ทั้งโลกจริงๆ ภาษาร่างกายนั้นไปกันกับน้ำเสียง มันเยาะ มัน “กระแดะ” นิดๆ เหมือนกระเทยเย้ยโลก แฮมเล็ตคนนี้เลยดูน่าหมั่นไส้เป็นพิเศษ (บางอารมณ์ตอนกำลังสับสนอย่างไอ้ท่ากัดนิ้ว นั่งยองๆ ก็แอบชวนให้คิดถึง L แห่งเดธโน้ตอยู่นิดๆ แฮะ แต่ก็คงเป็นแบบฉบับการแสดงออกของคนที่อยู่กึ่งกลางระหว่างความบ้ากับความอัจฉริยะนั่นแหละ) สรุปแล้ว เราอาจไม่ได้เห็น “แฮมเล็ต” ที่ดีที่สุด แต่คนดูคงพอใจที่ได้เห็น “แฮมเล็ต” ที่น่าสนใจที่สุดคนหนึ่ง และเหนือสิ่งอื่นใด คนดูคงรู้สึกว่า ยิ่งดูยิ่งรักเชคสเปียร์ คนที่เขียนบทละครเรื่องนี้มาหลายร้อยปี แต่ยังสนุกทุกครั้งไม่ว่าจะถูกเอาไปเล่นแบบไหน"

จากคุณ : วรรณจันทร์ (วรรณจันทร์) - [ 16 มี.ค. 52 00:32:00 ]
กระทู้จากพันธ์ทิพที่พี่บิ๊กส่งมาให้อ่าน
photos by MR Banpot

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สันดานกา Photo shoot










Sunflower the movie โดย น.ศ ม.กรุงเทพ








ขอขอบคุณพี่ปุ่นสำหรับโปรเจ็คนี้

ฝากหัวใจไว้ที่อุบล







มีเด็กชายคนหนึ่งเกิดมาด้วยหน้าตาอันหล่อเหลา พ่อแม่คิดอะไรไม่รู้ ตัดสินใจตั้งชื่อเขาว่าโค้ก ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ชื่อเล่น แต่เป็นชื่อจริงด้วย เด็กชายชื่อโค้กเติบโตขึ้น แล้วกลายเป็ยดาราใหญ่ พอเขาเริ่มมีชื่อเสียงอย่างจริงจัง จนกระทั่งมีค่ายใหญ่จากฮอลลีวู้ดมาติดต่อเขาเซ็นสัญญาห้าปี บริสัตว์ยักษ์ใหญ่น้ำดำก็เริ่มไม่พอใจ แล้วก็ฟ้องร้องเขาว่านามของเขานั้นละเมิดลิขสิทษ์ชื่อของบริสัตว์ เรื่องไปถึงศาลโลก สุดท้ายครอบครัวนั้นก็แพ้คดี แล้วก็ต้องสูญเสียทรัพย์สมบัติทุกบาทสตางค์ นายโค้กตอนนี้ก็เลยต้องทำงานเป็นดาราใช้หนี้ไปชั่วชีวิต เขากลายเป็นแมสค๊อทให้โค้ก เขาต้องถ่ายโฆษนาให้โค้กปีละห้าครั้ง เขาต้องดื่มโค้กทุกครั้งที่เขาอยู่นอกบ้าน เพื่อให้ปาปาราซี่ถ่ายรูป เขาเลยติดน้ำโค้ก ติดงอมแงม จนเป็นผลกระทบกับงานการ เวลาพูดบทไปก็เรอไป เมื่อไม่ได้ดื่มโค้กเขาก็จะหงุดหงิดระเบิดโวยวายคนในกองถ่ายอย่างไร้เหตุผล ครั้งหนึ่ง เขาทำร้ายร่างกายบริกรในร้านอาหารชื่อดัง(ที่ไม่มีโค้กให้บริโภค) บริกรคนนั้นแอบนำเป็ปซี่มาให้เขาดื่ม นึกว่าเขาคงแยกไม่ออก แต่ที่ไหนได้ สุดท้ายแล้วชายหนุ่มชื่อโค้กก็มีอันเป็นไปในห้องโรงแรม เขาโอดีจากการดื่มโค้กมากเกินไป

มีเด็กชายคนหนึ่งที่พ่อแม่ตั้งชื่อเขาว่าเอลวิส เด็กชายคนนี้เติบโตมากับเสียงเพลงของเอลวิส เพรสลี่ เขาร้องเพลงเอลวิสได้ก่อนที่เขาจะเดินได้ พอเขาเดินได้ เขาก็เต้นได้เหมือนเอลวิสอย่างไม่มีผิด แถมตอนที่เขาเริ่มโตขึ้น หน้าของเขาก็ดันดูคลับคล้ายเอลวิสซะด้วย เขาไปประกวดร้องเพลงเอลวิสแล้วก็ชนะทุกงาน มีฟรั่งจากอเมริกามาเห็นพรสวรรค์ของเขาเลยชวนเขาไปทำงาน เขาเลยโด่งดังเป็นดาราระดับโลก เป็นนักร้องที่มีหน้าตาเหมือนเอลวิส แล้วร้องเพลงเหมือนเอลวิสที่สุด ฟรั่งคนนั้นบอกว่าเขาไปค้นพบหนุ่มเอลวิสคนนี้ตั้งแต่เกิด จริงๆแล้ว เนี่ยแหละคือเอลวิสกลับชาติมาเกิด แล้วเขาก็ประกาศว่าเขาเป็นบิดาของชายหนุ่มคนนี้ คงเป็นแสงสีเสียงที่ทำให้ชายหนุ่มหลวมตัวเชื่อไปด้วย เขาเลยชวนพ่อแม่บังเกิดเกล้าไปหย่าที่ศาล แล้วเปลี่ยนสัญชาติเป็นคนอเมริกัน เวลาผ่านไป เขาดังกว่าเดิม จนมีแฟนพันธ์แท้ของเอลวิสที่รักเอลวิสเข้าเส้นเลือดรับไม่ได้ เพราะจะเป็นไปได้ยังไงที่เอลวิสจะกลับชาติมิเกิดในร่างของคนผิวเหลืองหัวดำ เขาเลยดักรอยิงชายหนุ่มคนนั้น
“ไอ้ลิงเหลืองนั้นไม่ใช้เอลวิสแน่ๆ” เขาบอกกับนักข่าวตอนที่เขามอบตัวกับตำรวจ
แต่เรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคนเหล่านั้น เรื่องนี้เกี่ยวกับเด็กชายที่ชื่อ แดง
- ฝากหัวใจไว้ที่อุบล -The adventures of captain Dan
September 2008 at crescentmoonspace


Welcome to Nothing

“ทุกสิ่งทุกอย่าง เกิดขึ้นมาจากความว่างเปล่า – ความว่างเปล่าคือจุดเริ่มต้นและจุดจบของทุกสิ่งทุกอย่าง”
นพพันธ์-
"มีความรู้สึกอย่างไรกับการแสดง และอยากทำอะไรที่สุดในการแสดง"

กีรติ ศิวะเกื้อ -
“อยากทำอะไรบ้าๆไปเลย”
(สิบนาทีผ่านไป)
“ขอเปลี่ยนเป็นร้องเพลงได้มั้ยพี่”
(เพลงอะไร)
“เพลงโซล์ - แบบบริทนี่”
(บริทนี่ไม่ได้ร้องเพลงโซล์)
“อ้าวเหรอ”

เกรียงไกร ฟูเกษม –
“เล่นละครมาก็เยอะแล้ว รู้ว่า คนดู มาเพื่อรอ ดูคน เล่น อยากออกไปบนเวทีแล้วไม่เล่นบ้าง อยู่เฉยๆ อยู่นิ่งๆ – นี่ไง เล่นแล้ว”

DON'T THINK - JUST FEEL
แล้วมันคืออะไรล่ะ

มันก็คือละครเวทีเรื่องที่สอง ที่เขียนบท/กำกับแล้วเล่นเอง เป็นละครแนว “แอบเซิรด์” ถ้าละครเรื่องนี้เปรียบเทียบกับจานอาหาร มันก็คงต้องเป็น ยำมั่ว - มีอะไรในครัวก็ใส่ลงไปให้หมด - แล้วก็ได้จานพิสดารออกมา จากที่ไม่มีอะไรเลย แต่ก็สามารถสร้างสิ่งน่าทึ่งให้เกิดขึ้นได้
อาหาร เพลง เสื้อผ้า ภาพวาด งานเขียน ศิลป – บ้านเมือง
อยากรู้ว่า อยู่ดีๆมันมีขึ้นมาได้อย่างไร ทั้งๆที่ตอนแรก ตอนเริ่มต้น จากศูนย์ เราไม่มีอะไรเลย มีแต่ ความว่างเปล่า – แต่ ณ บัดนี้ เรามีเยอะเกินไป มันเยอะแยะไปหมด สรรพสิ่งเต็มบ้านเต็มเมือง เราไม่รู้จักพอ เราต้องมีอีก มีให้เยอะ ถ้าไม่ต้องการก็โยนทิ้ง...หาที่ว่างๆเพื่อทิ้งสิ่งที่เราไม่ปราถนา
และบางครั้งหาที่ว่างๆเพื่อวิ่งหนีสิ่งที่เราไม่ปราถนา

ละครเกี่ยวกับอะไร

มันไม่เกี่ยวกับอะไรซักอย่าง แต่ในเวลาเดียวกัน มันเกี่ยวกับทุกๆอย่าง Welcome to nothing เป็นการ์ตูนที่เขียนขึ้นมาปีที่แล้ว ละครเรื่องนี้มีคอนเซปมาจากการ์ตูน เป็นเรื่องราวหลายๆตอนที่ไม่เกี่ยวข้องกัน มีตัวละครหลายตัว สภานการณ์หลายแบบ หลายรส หลายอารมณ์


“สุดยอดของสาระ คือไร้สาระ”
April 2008 @ Crescentmoon space

Sunflower, The first time i ever felt like i done something right






Sunflower - ละครเรื่องแรก

ก่อนมาทำละครเวที ผมเป็นนักแสดงมาสี่ปีกว่า ตอนแรกๆได้เล่นหนังแล้วชอบ จริงๆตั้งใจกลับมาเมืองไทย สี่ปีที่แล้วหลังจากไปอยู่ที่อังกฤษมาสิบสามปี อยากเป็นนักแสดง ก็เลยเก็บข้าวของกลับบ้านมา รู้สึกว่าถ้าได้อยู่ที่ประเทศเราเองมันน่าจะมีความสุขมากกว่าอยู่ที่นั่น น่าจะมีช่องทางมากกว่า แล้วก็คิดไม่ผิด ได้เล่นหนังบ้าง ทำงานทางทีวีบ้าง ทำหนังสั้น ทำรายการ ได้ท่องเที่ยว ได้เจอคนจากหลายอาชีพ หลายประเภท ตอนนี้ก็กลับมาจากอังกฤษได้สองเดือน ไปเรียนการแสดง กลับมาเลยอยากสร้างงานของตัวเอง ไม่อยากรอบทดีๆให้ลอยมาหาเรา เราเขียนเอง ทำเองไปเลย

ดอกไม้ในแสงแดดเป็นเรื่องเกี่ยวกับคนสามคน วัยยี่สิบห้า ยี่สิบหก ทั้งสามดูเหมือนจะมีความเป็นตัวตนอย่างชัดเจน แต่นั่นมันก็เป็นเพียงภาพลักษณ์ที่พวกเขาเสนอให้สังคม (และกันเอง) เห็น เห็นว่าเขาไม่ผิดปกติ ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสามก็ไม่มีอะไรพิเศษ บางทีแม้จะเป็นเพื่อนกัน สนิทกัน แต่ก็มีบางอย่างที่เราไม่เปิดเผยให้เพื่อนเห็น หรือเพื่อนอาจจะไม่อยากรับรู้เพราะเพื่อนเองก็มีปัญหา บางทีมันสนิทกันจนไม่คิดว่าสิ่งที่เราพูดออกไปเพื่อนจะเจ็บหรือเปล่า อาจะจะเห็นว่าเพื่อนเป็นของตาย แต่ในเรื่องนี้ ผมก็ไม่ได้โฟกัสไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสาม แต่ปัญหาส่วนตัวของทั้งสามด้วย

January 2008 at Crescentmoon space